วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงการฝนหลวง

โครงการ “ ฝนหลวง ” เย็นชุ่มฉ่ำหัวใจไทยมิรู้ลืม
                     
         เป็นโครงการสำคัญที่คนไทยรู้จักดี และเมื่อปี 2548ที่เพิ่งผ่านไปนั้นฝนหลวงก็ได้เทลงมาให้
หัวใจไทยชุ่มฉ่ำอีกครั้งและช่วยชะล้างความทุกข์
ในใจชาวไทยจากปัญหาภัยแล้งช่วงกลางปีใน
หลาย พื้นที่ ซึ่งระดับน้ำในเขื่อนทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศลดลงจนอยู่ในขั้นวิกฤต โดยผลจากการกู้ภัยแล้งด้วยโครงการหลวง
ก็สามารถบรรเทาวิกฤตดังกล่าวได้อย่างน่าพอใจ
     
        ทั้งนี้โครงการฝนหลวงเกิดจากพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จ
พระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือเมื่อปี 2498 และทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุม
แต่ไม่รวมตัวกันให้เกิดฝน จึงมีพระราชดำริว่าน่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ มาช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อตัวเป็นเมฆฝนได้ จนกระทั่งมีการจัดตั้ง
“สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ” ซึ่งดำเนินงานฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน

        หลักการทำฝนหลวงมีขั้นตอนโปรย
“ผงเกลือแป้ง”เพื่อเป็นแกนในการดูดความชื้นใน
อากาศจากนั้นใช้สารเคมีอีกหลายชนิดเพื่อช่วยใน
การเพิ่ม แกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) เช่น เกลือแกง ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรตและน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น จนเมื่อเมฆเติบโตและเคลื่อนสู่เป้าหมายก็ใช้เทคนิคจู่
โจมกลุ่มเมฆโดยโปรยเกลือโซเดียมคลอไรด์ทับยอด
เมฆและฐานเมฆและโปรยผงยูเรียเพื่อให้อุณหภูมิลด
ลงทำให้เกิดเม็ดน้ำขนาดใหญ่แล้วตกกลายเป็นฝน

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล


 
ความเป็นมาและปัญหา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรง
ทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดํารให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนื อตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิ จกรรมต่ างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้ นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อไป ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่ งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุ ปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้ความ เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำาบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริต่างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สํ าหรับการบริหารจั ดการแหล่งน้ำ บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกตฺ์ใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพ อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง มีแหล่งน้ำ สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต
โครงการฝายทดน้ำบ้านวังปลา พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

พระราชดำริเมื่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  รับโครงการฝายทดน้ำบ้นวังปลา พร้อมระบบส่งน้ำและ อาคารประกอบ  ไว้เป็นโครงการอันมาจากพระราชดำริ   ( ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล.0005.5/6137  ลงวันที่  16  มีนาคม  2550 )   
สถานที่ตั้ง    
บ้านวังปลา   หมู่ที่ 16   ตำบลบ้านควน   อำเภอหลังสวน   จังหวัดชุมพรที่พิกัด  47 PML 984 – 865   ระวาง  4828  IV    
วัตถุประสงค์ของโครงการ
โครงการฝายทดน้ำบ้านวังปลา  มีวัตถุประสงค์เพื่อการเก็บกักน้ำในลำน้ำ  ,    ทดน้ำในลำน้ำให้สูงขึ้น  และส่งน้ำเข้าท่อส่งน้ำไปยังพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์  เพื่อการอุปโภค – บริโภคและการเกษตรกรรม  ของราษฎรบริเวณ  หมู่ที่ 16  ,  หมู่ที่ 4  และหมู่ที่ 5  ตำบลบ้านควน   และหมู่ที่ 10  และหมู่ที่ 11  ตำบลหาดยาย  อำเภอหลังสวน  และในบริเวณใกล้เคียง
 สภาพทั่วไป
ลักษณะภูมิประเทศบริเวณลำน้ำคลองธัมมัง  ตั้งอยู่ในพื้นที่รับน้ำของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบระหว่างเชิงเขา  โดยมีสันเขาล้อมรอบด้านทิศเหนือ  ทิศใต้  และทิศตะวันออก  ทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำมีความลาดเทจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้  และไหลลงสู่ที่ราบไปรวมกับคลองรับร่อ  ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านควน  อำเภอหลังสวน  จังหวัดชุมพร
การประกอบอาชีพของราษฎรบริเวณพื้นที่โครงการส่วนมากทำการเกษตรกรรม  ได้แก่  การปลูกสวนกาแฟ  สวนยางพารา  สวนปาล์ม  และสวนผลไม้  เช่น  ทุเรียน  มังคุด  ส้มโอ  เป็นต้น
สภาพปัญหาทั่วไป 
ราษฎรขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภคและการเกษตรกรรม  เนื่องจากแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ  ทำให้ราษฎรมีผลผลิตและรายได้ตกต่ำระยะเวลาก่อสร้าง

เริ่มปฏิบัติงานก่อสร้างเดือน  มีนาคม  2551  แล้วเสร็จเดือน  กันยายน  2551  รวมระยะเวลาก่อสร้างประมาณ  7  เดือน
รายละเอียดโครงการ
 
ก่อสร้างเป็นฝายทดน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก  ขนาดสันฝายสูง  2.50 เมตร  ยาว  19.00 เมตร  จำนวน  1 แห่ง          ระบบท่อส่งน้ำ  จำนวน 1 สาย จาก กม.0+000 ถึง กม.3+700  ยาวรวม  3,700 เมตร 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถเก็บกักน้ำในลำน้ำ  ,  ทดน้ำในลำน้ำให้สูงขึ้น  และส่งน้ำเข้าท่อส่งน้ำไปยังพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์   เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรกรรม  ตลอดจนการอุปโภค - บริโภคของราษฎรบริเวณ  หมู่ที่ 16  ,  หมู่ที่ 4  และหมู่ที่ 5  ตำบลบ้านควน   และหมู่ที่ 10  และหมู่ที่ 11  ตำบลหาดยาย  อำเภอหลังสวน  และในบริเวณใกล้เคียงได้

ความก้าวหน้าของโครงการ งานแล้วเสร็จ  100 %  เดือน  กันยายน  2551


ภาพโครงการ

vangplar2
vangplar2

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ...เปิดเทอมใหม่...1/2554

สวัสดีเพื่อนใหม่เป็นไงบ้าง
ถ้าเพื่อนว่าง...โปรดแวะมาหากันหน่อย
ปิดเทอมนาน...นานมากเราเฝ้าคอย
เปิดเทอมค่อยสดชื่น...ระรื่นเริง


ด้วยความคิดถึง...จาก เมย์ (เพื่อนเธอไง...จำได้ไหม)